บ้านสไตล์ยุโรป ชั้นเดียว
บ้านสไตล์ยุโรป ชั้นเดียว ยุโรป มีชื่อเสียงในด้านมรดกทาง สถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ครอบคลุมรูปแบบและยุคสมัยที่หลากหลายซึ่งมีอิทธิพล อย่างมากต่อโลกของสถาปัตยกรรม บ้านสไตล์ยุโรป ที่มีเสน่ห์ และความสง่างามที่แตกต่างยังคงสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับเจ้าของบ้าน และนักออกแบบทั่วโลก
การตกแต่งบ้าน สไตล์ยุโรป ส่วนใหญ่มักเน้นความโอ่อ่า หรูหรา อลังการ เป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อ สร้าง และตกแต่ง รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้านที่มีเอกลักษณ์ และมีความสง่างาม อยู่ในตัวของมันเอง นับเป็นอีกแนวทางหนึ่ง สำหรับคนไทย
บ้านสไตล์ยุโรป ชั้นเดียว
แบบที่ 1 บ้านหลังคาจั่วสูงสไตล์ยุโรป
บ้านจั่วสูงเรียบง่าย และอบอุ่น บ้านชั้นเดียว หลังคาจั่วสูงเหมือน โบสถ์ในยุโรปในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกแบบที่เน้นความเรียบง่ายไม่รกตาในสไตล์มินิมมอล ภายนอกใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ อย่างไม้ช่วยให้บ้านดูอ่อนโยนท่ามกลางเส้นสายตรงไปตรงมา และเข้ากันได้กับบริบทรอบข้าง
บนผนังกรุกระจกบานยาวในหลาย ๆ จุด เพื่อให้แสงสว่างจากภายนอกส่องเข้าภายใน ช่วยให้อบอุ่นระบายอากาศได้เป็นอย่างดี แต่ความพิเศษไม่ได้มีเพียงบ้านหลังเดียว แต่อยู่ที่การสร้างบ้านสองหลัง ในบริเวณเดียวแล้วทำทางเดินเชื่อมต่อกัน
บ้านสองหลังเชื่อมกันด้วยทางเดิน สำหรับบ้านที่มีสมาชิกในบ้านค่อนข้างมาก บางคนอาจจะรู้สึกอึดอัดกับการอยู่ในบ้านหลังใหญ่กับคนอื่น ๆ และต้องการพื้นที่ส่วนตัวออก มาจากความวุ่นวาย ซึ่งอาจจะเป็นผลดีกับความสัมพัน์มากกว่า
ถ้าพอมีพื้นที่อยู่บ้าง การสร้างบ้านหลังเล็กแยกตัวออกมาแล้ว ทำทางเชื่อมต่อก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับบ้านหลังนี้ใช้อาคารสองหลังแบ่งแยกเป็นพื้นที่ส่วนตัวหลังหนึ่ง และพื้นที่ใช้งานส่วนรวมอีกหลัง เป็นการแบ่งสัดส่วนการใช้งานที่ทำให้บ้านน่าสนุกขึ้นด้วย
บ้านจั่วสูงโปร่งสบายไม่ไร้แสง บ้านสองหลังขนาดไม่เท่ากัน ขนาดใหญ่ 5 x 18 เมตรและ 3 x 9 เมตร บ้านใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับให้ทุกคนมาใช้งานด้วยกัน ตกแต่งด้วยโทนสีขาวสว่างเป็นหลัก ปูพื้นด้วยงานไม้เข้ากันกับเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นใช้งานไม่เช่นกัน
เพื่อให้บรรยากาศภายในไม่นิ่งเรียบจนเกินไป รอบ ๆ ตัวบ้านมีช่องแสงแนวตั้ง เปิดรับแสงเป็นระยะ เพื่อให้แต่ละจุดของบ้านได้รับแสงสว่างเพียงพอต่อการใช้งาน การจัดแปลนในบ้านเป็นแบบ open plan สร้างภาพห้องโถงขนาดใหญ่ที่ไม่มีผนังกั้น แต่ละฟังก์ชันไม่ว่าจะเป็น ครัว โต๊ะทานอาหาร มุมนั่งเล่น ใช้ตัวเฟอร์นิเจอร์เป็นสิ่งบอกขอบเขต ทำให้การใช้งานยื่นหยุ่นและลื่นไหล
ในเมืองหนาวที่ขาดแสงสว่าง และคำนึงถึงการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ บ้านเลือกติดแผงโซล่าร์เซลล์ และทำช่องแสง skylight เพื่อรับแสงเข้าสู่ตัวบ้านได้มากขึ้น
ผนังบ้านที่เป็นกระจก ไม่ใช่กระจกติดตายทั้งหมด แต่สามารถเปิดออกเชื่อม ต่อระหว่างตัวบ้านกับสวนภายนอก และช่วยให้การระบาย อากาศทำให้ได้ดีขึ้น ในบ้านโถงสูงนั้นนอกจาก จะสร้างความพิเศษให้ภายในดูสูง โปร่ง และเอื้อให้ความร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดีแล้ว ยังทำให้มีพื้นที่แนวตั้งเหลือสามารถจัดสรร เป็นชั้นลอยทำห้องอ่านหนังสือ ห้องทำงาน หรือห้องนอนใต้หลังคา ที่ไม่ขาดปฏิสัมพันธ์กับด้านล่างได้อีก
บ้านหลังเล็กเป็นพื้นที่ ส่วนตัวประกอบด้วยห้องนอน ห้องน้ำ ที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย เต็มไปด้วยความสงบผ่อนคลาย ชวนให้นอนหลับสนิททั้งคืน พร้อมตื่นรับเช้าวันใหม่อย่างสดชื่น
แบบบ้านที่เราเห็นว่าสวย บางครั้งก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด เพราะต้องปรับประยุกต์สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศด้วย อย่างการทำ ช่องแสงขนาดใหญ่หรือ skylight อาจจะมีประโยชน์ใน บ้านเมืองหนาวที่ต้องการความอบอุ่นมากเป็นพิเศษ แต่ในเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ต้องศึกษาให้ดีทั้งทิศทาง ตำแหน่งที่จะติดตั้ง และวัสดุที่จะใช้ให้ดีก่อน
เพราะหากต้องช่องแสงบนผนังควร เลือกติดตั้งในทิศทางที่ แดดไม่ส่องแรงทั้งวัน วัสดุกระจกมีคุณสมบัติสะท้อนแสงไม่ดูดความร้อน สกายไลท์ก็เช่นกัน ควรใช้วัสดุโปร่งแสงที่ยอม ให้แสงผ่านได้บ้างใน บ้านโดยไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านมาก สำหรับครัว หรือโรงรถก็อาจจะเปลี่ยน ไปใช้แผ่นโปร่งแสงที่แสงผ่านได้มากขึ้น
แบบที่ 2 บ้านโรงนาโมเดิร์น สไตล์ยุโรป
ดีไซเนอร์ Mikhail Novinskiy และ Anastasia Konnova จาก MNdesign เพิ่งสร้างบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโรงนาในหมู่บ้าน ที่มีทิวทัศน์สวยงามในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นบ้านของครอบครัวที่ออกแบบมาสำหรับตัวเองและลูกๆ สองคน ภายนอกนั้นนอกจากจะโดดเด่น ด้วยความมินิมอล เรียบง่าย เส้นสายที่ดูสะอาดตาไม่มีกันสาด ไม่มีชายคายื่นออกมารบกวน ยังปนความทันสมัยในโทนสีดำทั้งหลัง และมีพื้นที่นั่งเล่นดื่มด่ำ กับบรรยากาศรอบบ้านในวันที่สภาพอากาศดี ๆ
เมทัลชีทเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันมากใน ประเทศฝั่งตะวันตก และยุโรป ซึ่งเหมาะกับการทำ บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์นหรือนอร์ดิก เนื่องจากมีรอยต่อน้อยลด ความเสี่ยงรั่วซึม สามารถทำความลาดชัน ได้หลากหลายองศา และยังมีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้ง่าย
การตกแต่งภายใน เน้นการตกแต่งด้วยวัสดุไม้ฟอกสีอ่อน ๆ ทั้งหลัง ซึ่งให้ผลในเรื่อง ของความอบอุ่บ และความเป็นธรรมชาติ ลดทอนความเรียบนิ่ง ของสีดำภายนอกได้เป็นอย่างดี หน้าต่างบานใหญ่ช่วย ให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาเติมความอบอุ่น และในขณะเดียวกันก็ให้ทัศนียภาพ ของชานบ้านและสวน
ซึ่งเข้ากันกับสภาพแวดล้อม และภูมิอากาศของรัสเซียที่หนาวเย็น ได้รับแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์น้อย จึงเลือกใช้วัสดุกระจกในบริเวณกว้าง ให้สามารถนำแสงสว่าง จากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคารได้มากขึ้น ด้วยความใสเราจึงสามารถมองเห็นห้องนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องครัว ได้จากภายนอก บ้าน 2 ชั้น
ชั้นล่างออกแบบแปลน open plan เปิดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ไม่มีผนังแบ่งกั้นระหว่างห้อง รวมฟังก์ชันสำหรับใช้งานส่วนรวม อาทิ ห้องนั่งเล่นผิงไฟ มุมทานอาหาร ครัว ซึ่งตกแต่งในโทนสีดำบน พื้นหลังไม้สีอ่อน ที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์และกรอบหน้าต่างคมขัดเด่นขึ้นมา
ตัวอาคารที่สูงเป็นพิเศษ และหลังคาจั่วที่ตีฝ้าตามแนวหลังคา ทำให้บ้านสูงโปร่ง เมื่อใส่ผนังกระจก จะช่วยเปิดมุมมองบ้านให้สูงขึ้นถึงท้องฟ้า ในห้องนี้เตาผิงเหล็กหล่อขนาด กะทัดรัดที่มุมกลายเป็น “หัวใจ” ของบ้าน เพราะเป็นทั้งแหล่งกำเนิดไฟ ที่ทำให้ทั้งอุ่นกาย และอุ่นหัวใจเมื่อสมาชิกใน บ้านทุกคนได้มารวมกันที่นี่ บ้านหรู
จากวิวนี้จะเห็นระเบียงบนชั้นสอง จุดนี้ต้องยกความดีให้ กับความสูงของอาคารอีกครั้ง เพราะระดับความสูงจากพื้นถึงเพดานที่มากขึ้น ทำให้สามารถแบ่งเป็นชั้นลอย ที่เพิ่มการใช้งานได้ และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นง่ายขึ้น
หลังจากเดินตามทางเดินเล็กๆ หลังมุมนั่งเล่น ลึกจะมาพบกับมุมแขวนของใช้เล็ก ๆ เหมือนประตูหน้าและทางเข้า ใช้วัสดุผนังแบบเดียวกับ ห้องนั่งเล่นและห้องนอนเป็นระบบไม้ ฝาเข้าลิ้นบังใบเห็นร่องระหว่างแผ่นไม้ ซึ่งทำให้ห้องดูคลาสสิคอบอุ่นผ่อนคลาย สีอ่อน ๆ ของไม้รอบ ๆ ห้แงยังขับเน้นให้เฟอร์นิเจอร์ และตู้สีเข้มให้องค์ประกอบการออกแบบที่ตัดกัน
ห้องนอนของเด็กๆ อยู่ชั้นบนห้องใต้หลังคา มีมุมอ่านหนังสือเล็กๆ และประตูห้องนอนสีดำ ห้องนอนสองห้องออกแบบให้เป็น (mirror images) เหมือนกระจกภาพสะท้อนของกันและกัน อย่างไรก็ตาม ผนังระหว่างสองห้องมีเพียงบางส่วนเท่านั้นไม่ได้ก่อเต็มพื้นที่ มีช่องว่างให้เด็กๆ มาได้เล่นด้วยกัน แต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง มุมทำการบ้านขนาดเล็กมาพร้อมโต๊ะสีขาว และเก้าอี้สีส้มสดใส ชวนให้สนุกกับการทำงาน และการอยู่ร่วมกัน
บ้านสไตล์ยุโรป ทั่วไปจะมีหลังคาสูง ความสูงนี้มากพอที่ จะแบ่งให้เป็นห้องใต้หลังคา สำหรับเก็บของหรือให้คนรับใช้นอนพักได้ แต่ด้วยความที่ห้องสมัยก่อน ไม่มีฉนวนกันความร้อน และช่องระบายอากาศน้อย เมื่อฤดูร้อนมาถึงความร้อนจากหลังคา ที่แผ่ลงมายังพื้นที่ ใต้หลังคาตรงๆ ทำให้ร้อนจัด ในฤดูหนาวส่วนนี้ก็จะหนาวจัด อับ และชื้น เพราะแสงแดดส่องเข้ามาไม่ถึง บ้านยุคใหม่ที่จะทำห้องใต้หลังคา
จึงนิยมใส่ฉนวนกันความร้อน ระหว่างหลังคากับฝ้าเพดาน และเพิ่มช่องทางระบาย อากาศรับแสงในฤดูหนาว สำหรับบ้านเขตร้อนอย่างเมืองไทย หากต้องการสร้างบ้านที่มีต้นแบบมา จากเขตหนาวแบบนี้ ควรปรึกษาสถาปนิกก่อน เพื่อปรับประยุกต์ให้เข้า กับบ้านหน้าร้อนมากที่สุด