บ้านทรงไทยประยุกต์
รีวิวบ้าน

บ้านทรงไทยประยุกต์

บ้านทรงไทยประยุกต์ บ้านทรงไทยประยุกต์คือแบบบ้านที่ถูกพัฒนามาจากแปลนบ้าน เรือนไทยในสมัยก่อน ซึ่งแบบบ้านจะต่างออกไปในแต่ละภาคคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ โดยจะปรับเปลี่ยนตามสภาพภูมิอากาศของแต่ละภาค และการใช้สอยพื้นที่ ในชีวิตประจำวันนั่นเอง

บ้านทรงไทยประยุกต์

การประยุกต์แบบบ้านนั้นจะมี 2 อย่างหลัก ๆ คือ การประยุกต์โดยเน้นพื้นที่ใช้สอย และการประยุกต์โดยเน้นรูปแบบ การประยุกต์โดยการเน้นพื้นที่ใช้สอย จะเป็นการเอาลักษณะของแบบแปลนสมัยก่อน มาปรับใช้

ยกตัวอย่าง เช่น การใช้ชานหรือระเบียงเป็น พื้นที่เชื่อมระหว่างสองอาคาร ทำให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ข้อดีของการประยุกต์แบบนี้คือทำให้บ้านมีพื้นที่ที่แสงส่องถึงมากขึ้น รวมถึงอากาศจะถ่ายเทสะดวกมาก ยิ่งขึ้นอีกด้วย ถือว่าเป็นการลดใช้ไฟฟ้าและประหยัดไปได้ในตัว

ส่วนการประยุกต์ที่เน้นรูปแบบ จะเป็นในเชิงของการเอาแพทเทิร์น ของบ้านเรือนไทยมาใส่ไว้ในบ้าน เช่น การเอาหลังคาทรงสูง ชายหลังคายาวที่มีส่วนช่วยใน การระบายน้ำฝนมาปรับใช้ รวมทั้งการตกแต่งภายใน ที่สามารถเอา ‘ฝาปะทน’ ซึ่งเป็นลายผนังในสมัยโบราณมาตกแต่ง เพื่อให้กลิ่นอายของความเป็นไทย

โดยรวมแล้ว หากใส่ใจในรายละเอียด และตกแต่งให้เข้ากันนั้น บ้านทรงไทยประยุกต์จะดูไม่เก่าหรือเชย แต่จะกลายเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์ ในตัวสูงเป็นอย่างมาก

บ้านทรงไทยประยุกต์

4 เอกลักษณ์บ้านทรงไทยประยุกต์

1.ใต้ถุนสูง
ใต้ถุนที่สูงของบ้านทรงไทย ประยุกต์นั้นถือว่าเป็นจุดเด่น เพราะการมีใต้ถุนสูงนั้น นอกจากจะทำให้พื้นที่ใช้สอยมากขึ้นแล้ว ยังเอาไว้หลบแดดใน ตอนกลางวันได้อีกด้วย ทั้งนี้การยกใต้ถุนสูงในบ้านทรงไทยประยุกต์ จะทำให้ลมพัดผ่านตัวบ้าน ถือเป็นการระบายอากาศที่ดี แถมตอนฤดูฝน ยังทำให้น้ำไม่ท่วมบ้านอีกด้วย

2.วัสดุเป็นไม้ผสมปูน
เป็นความแปลกใหม่อีกหนึ่งอย่างของบ้านทรงไทย ประยุกต์บางหลังที่จะทำ ชั้นล่างเป็นปูนเพื่อความแข็งแรงและคงทนของตัวบ้าน ส่วนชั้นที่สองจะทำจากไม้ ถึงจะทำจากคนละวัสดุกันแต่ ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการใช้สอยของตัวบ้านในทุกสภาพอากาศ แถมยังเป็นการลดใช้วัสดุจากไม้ เป็นการรักษาผืนป่าไปในตัว

3.มีชานหรือระเบียงไว้นั่งเล่น
ชานและระเบียงเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ สำคัญของบ้านทรงไทยประยุกต์ เพราะนอกจากจะสามารถใช้เป็นที่ต้อนรับแขก ยังสามารถเป็นพื้นที่ พักผ่อนหย่อนใจ นั่งจิบชาหรือกาแฟยามเช้าได้อีกด้วย หากท่านไหนรักธรรมชาติ หรือชอบปลูกต้นไม้ ก็ยังสามารถนำเอาต้นไม้เล็ก ๆ มาตกแต่งเพื่อเพิ่มความสดชื่นในทุก ๆ วัน

4.หลังคาทรงสูง
หลังคาทรงสูงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ขาด ไม่ได้ของบ้านทรงไทยประยุกต์ เพราะความเป็นชั้นของหลังคา นั้นจะช่วยถ่ายเทน้ำฝน อีกทั้งยังระบาย ความร้อนจากตัวบ้าน ได้เร็วกว่าบ้านในยุคปัจจุบัน ทำให้ตัวบ้านทรงไทยประยุกต์นั้นเย็นสบายกว่าบ้านทั่ว ๆ ไป ส่วนหลังคาที่จะเรียกว่าเป็นทรงสูงนั้น จะต้องเป็นหลังคาที่มีความชันอย่างน้อย 35 องศา

แบบบ้านทรงไทยประยุกต์ใต้ถุนสูง สวย โปร่ง เย็นสบาย

บ้านทรงไทยประยุกต์

บ้านไม้ทรงไทยประยุกต์หลังนี้เป็นบ้านไม้ที่ออกแบบได้ใกล้เคียงกับคำว่า “เรือนไทย” ดั้งเดิมเป็นที่สุด เพราะว่าแบบบ้านที่เรากำลังเสนอเป็นบ้านไทยประยุกต์ที่มาพร้อมกับใต้ถุนสูงโปร่ง บ้าน 2 ชั้น และเรือนบ้านตามแบบฉบับไทยแท้ ใครที่อนุรักษ์นิยม และอยากจะสร้างบ้านสไตล์ไทยๆ คงไม่ต้องชายตามองที่แบบบ้านที่ไหนอีกแล้ว เพราะแบบบ้านนี้ อาจจะกำลังตอบโจทย์บ้านไทยในฝันของคุณอยู่

บ้านถูกออกแบบให้มีใต้ถุนโปร่งแบบไทยๆ ที่มีความสูงเกือบ 3 เมตร เปิดรับลมรอบทิศ พร้อมด้วยพื้นที่ใต้ถุนโล่งกว่า 200 ตารางเมตร โดยชั้นล่างประกอบด้วย 1 ห้องครัว และ 1 ห้องน้ำ ยังเหลือที่ เป็นลานใต้ถุนขนาดกว้างขวาง ปูพื้นด้วยไม้ฝาคุณภาพ ให้คุณสามารถตั้งโต๊ะทานอาหาร เก้าอี้ไม้ตัวโปรด หรือแม้แต่นอนเล่นเอนหลัง

ตั้งวงกินข้าวกับพื้นก็สะดวกสบาย ขึ้นไปที่เรือนบ้านชั้นบน ผ่านบันไดที่อยู่นอกตัวบ้านตามแบบฉบับเรือนไทย คุณจะพบกับระเบียงขนาดพอเหมาะก่อนเข้าตัวเรือน โดยพื้นที่ชั้นบนแบ่งเป็น 2 ห้องนอน และ 2 ห้องน้ำ มาพร้อมกับห้องโถงขนาดใหญ่ที่คุณสามารถ จัดสรรพื้นที่ได้ตามความชอบ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทานข้าว หรือโซนรับแขกกับชุดโซฟาไม้สวยๆ ตามความชื่นชอบ

ภายนอกของบ้านไทยประยุกต์หลังนี้ บุผนังด้วยไม้ฝาที่ให้ความสวยงามเสมือนไม้จริง ทรงหลังคาที่มีความลาดชันถึง 30 องศา ช่วยลดปัญหาความร้อนที่ ต้องรับจากแสงแดด นอกจากองศาของหลังคา จะมีส่วนช่วยในการป้องกันความร้อนแล้ว กระเบื้องหลังคาก็ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย อย่างกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ตราช้าง รุ่น พรีมา ที่นอกจากจะมีคุณสมบัติกันร้อน และความยืดหยุ่นต่อ สภาพแวดล้อมแล้ว ลอนกระเบื้องที่พลิ้วสวย และโทนสีแดงของกระเบื้อง ยังสอดรับกับความสวยงามของ ไม้ฝาโทนสีอบอุ่นและสุขุม ไปจนถึงรูปทรงของบ้านได้เป็นอย่างดี

แบบบ้านทรงไทยประยุกต์ภาคอีสาน

แบบบ้านทรงไทยประยุกต์ภาคอีสาน

บ้านทรงไทยประยุกต์ของภาคอีสาน จะมีส่วนคล้ายของภาคกลาง อยู่บ้างในส่วนของการ ยกใต้ถุนสูงเพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยชาวภาคอีสานจะนิยม เอาไว้ใช้เป็นพื้นที่ในการทอผ้า หรือเอาไว้เก็บอุปกรณ์ ในการเพาะปลูกและอุปกรณ์เกี่ยวกับอาชีพหัตถกรรม

เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศ ที่แห้งแล้งกว่าภาคกลาง และฝนตกไม่ชุก จึงทำให้หลังคาไม่จำ เป็นต้องมีความชัน อีกนัยหนึ่งคือหลังคาของบ้านทรงไทย ประยุกต์ภาคอีสานสามารถ ทำเป็นทรงจั่วได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นทรงสูง ในส่วนของหน้าต่างจะแคบเพื่อ ป้องกันลมพัดผ่านในฤดูหนาว

บ้านทรงไทยประยุกต์ภาคเหนือ

บ้านทรงไทยประยุกต์ภาคเหนือ

ด้วยความที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบสูง และมีภูมิอากาศหนาวเย็นกว่าภาคกลาง จึงทำให้ต้องทำใต้ถุนแบบไม่สูงมากนักเพื่อรับความอบอุ่นจากพื้นดิน รวมทั้งหน้าต่างที่เล็กเพื่อ ให้ลมหนาวพัดผ่านได้น้อยลง โดยหน้าต่างนั้นจะเป็นแบบบานกระทุ้ง

ส่วนหลังคาของ บ้านไทยประยุกต์ ภาคเหนือจะไม่สูงชันเท่าภาคกลาง และจะออกแบบแตกต่างกัน คือออกแบบเป็นหลังคาทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และประดับกาแลที่เป็นไม้ไขว้กัน เพื่อไม่ให้นกจำพวก แร้ง หรือกามาเกาะ เนื่องจากชาวภาคเหนือมีความเชื่อ ว่านกจำพวกนี้ถือเป็นลางร้าย

บ้านทรงไทยประยุกต์ภาคใต้

บ้านทรงไทยประยุกต์ภาคใต้

ด้วยความที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตก ลมแรง และเจอพายุบ่อย ลักษณะของบ้านทรงไทย ประยุกต์ภาคใต้ จึงถูกสร้างให้เข้ากับภูมิอากาศคือ เสาเรือนจะตั้ง อยู่บนฐานคอนกรีต หรืออาจจะเป็นเสาคอนกรีต ทั้งเสาก็ได้ ส่วนความสูงของใต้ถุนจะไม่สูงมาก จะเน้นที่ความแข็งแรง ของโครงสร้างมากกว่าพื้นที่ใช้สอย

ในส่วนของหลังคาสามารถพบ ได้แบบตั้งแต่หลังคาทรงปั้นหยา หลังคาทรงมนิลา และหลังคาทรง บรานอร์ที่เกิดมาจากผสมผสานสไตล์ระหว่างหลังคาจั่ว กับหลังคาทรงปั้นหยา

ข้อดีของบ้านทรงไทยประยุกต์

ข้อดีของบ้านทรงไทยประยุกต์ คือสามารถซื้อแบบที่ขึ้นเรือน ไว้แล้วได้เลย เหมือนกับซื้อบ้าน สำเร็จรูปแล้วจึงนำมาประกอบบนผืนที่ดินของเรา ซึ่งเมื่อประกอบเสร็จก็มุงหลังคา ตามแบบที่ชอบได้เลย พร้อมเข้าอยู่

นอกจากนี้การมี บ้านทรงไทยประยุกต์ นั้นทำให้เราจะต่อเติมเพิ่ม กี่หลังก็ได้ตราบใดที่ ที่ดินของเรามีพื้นที่มากพอ เพราะบ้านทรงไทยประยุกต์อาศัย ชานบ้านหรือพื้นที่ส่วน กลางในการเชื่อมกันอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่วงเรื่องการต่อเติมเลย

ข้อเสียของบ้านทรงไทยประยุกต์

ด้วยความที่ข้อดี ของบ้านทรงไทยประยุกต์ คือการต่อเติมแบบไม่จำกัด จึงทำให้ข้อเสียที่ตามมา ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือการที่บ้านจะมีความสัมพันธ์ หรือความเข้ากันน้อยลง เพราะการต่อเติมทีหลังทำให้มี โอกาสมากที่บ้านจะออกมาคนละแนวนั่นเอง