บ้านชั้นเดียว มินิมอล
รีวิวบ้าน

บ้านชั้นเดียว มินิมอล

บ้านชั้นเดียว มินิมอล หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบความปลอดโปร่ง โล่งสบาย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสุขใจที่ได้เห็นอะไรที่สะอาดสะอ้าน สบายตา ไม่ชอบอะไรรกรุงรัง และต้องคอยจัดการให้เรียบร้อยเสมอ เชื่อว่าคุณต้องชอบแบบบ้านสไตล์มินิมอลอย่างแน่นอน ด้วยความ “น้อยแต่มาก” ของการเป็นมินิมอลจะช่วยตอบโจทย์การมีบ้านในแบบที่คุณใฝ่ฝันได้เป็นอย่างดี เพราะการแต่งบ้านสไตล์มินิมอลที่ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น นอกจากดูสะอาดตาแล้ว ยังช่วยลดความเครียดในการจัดระเบียบข้าวของในบ้านได้ง่ายขึ้น ทำความสะอาดบ้านได้ง่ายกว่า แถมบ้านของคุณก็ยังดูโดดเด่นน่าดึงดูด อยู่อาศัยเองก็สุขใจ ใครผ่านไปมาก็สะดุดตาอีกด้วย

บ้านชั้นเดียว มินิมอล

มินิมอล (Minimal Style) คืออะไร มินิมอลกลายเป็นสไตล์ การแต่งบ้านยอดนิยม ในยุคปัจจุบันที่เน้นให้ความสำคัญกับความเรียบง่ายเป็นหลัก ด้วยการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ที่ไม่มีสีสรรฉูดฉาดมาก มีจำนวนเฟอร์นิเจอร์ กับของตกแต่งไม่จำเป็นต้องเยอะ เอาแค่ที่พอดี อะไรไม่จำเป็นก็ไม่ต้อง ใส่เข้าไปในห้อง นอกจากนี้ยังเน้นความ สว่างจากแสงไฟธรรมชาติเป็นหลัก หรือใช้หลอดไฟที่ มีสีสรรไม่ฉูดฉาด เน้นความเรียบง่ายในทุกองค์ประกอบ เก็บกวาดดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย

ลักษณะการตกแต่งที่บ่งบอกถึงความเป็นมินิมอล

1.มีพื้นที่เหลือใช้เยอะ
ด้วยความที่สไตล์มินิมอลมีการใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น เน้นการเลือกใช้แต่ของที่จำเป็น และของตกแต่งเหล่านั้นต้องมีความเรียบง่าย ทำให้การตกแต่งสไตล์นี้ มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่มาก คือเป็นอัตราส่วนโดยประมาณ Space 60%, Decoration 40%

2.ใช้สีน้อย ๆ หรือสีโมโนโทนในการตกแต่ง
สไตล์มินิมอล จะใช้โทนสีในการตกแต่งไม่มากนัก และส่วนใหญ่จะเป็นสีพื้นที่ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับห้อง โทนสีที่ใช้สำหรับบ้านสไตล์มินิมอล ควรเป็นสีออกโมโนโทนหรือสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว, เทาอ่อน, เทาเข้ม, น้ำตาลอ่อน

3.เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น แต่จำเป็น และมีดีไซน์เฉพาะตัว
เฟอร์นิเจอร์ในแบบมินิมอลสไตล์ ถึงแม้จะมีความเรียบ ไม่เน้นรวดลาย แต่ดีไซน์ต้องดูทันสมัย หรือมีรูปทรงที่น่าสนใจ เช่น โคมไฟเรียบ ๆ หรือดีไซน์บางเฉียบ เก้าอี้พื้น ๆ ที่ไม่มีลวดลาย แต่มีรูปทรงที่ดูมีคอนเซ็ปต์ ลดทอนความเยอะ และไม่จำเป็นให้เหลือแต่ความเรียบง่ายที่ดูโดดเด่นในแบบของตัวเอง

4.คุณภาพ สำคัญกว่าปริมาณ
การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอล ต้องมีระบบการจัดเก็บของที่ดี เพื่อความสะอาด และความเป็นระเบียบ เพราะฉะนั้นการออกแบบห้อง มักจะออกแบบให้ถูกซ่อนอย่างกลมกลืนไปกับอาคาร หรือเครื่องเรือน เช่น การออกแบบผนัง พื้นที่ใต้บันได หรือมุมต่าง ๆ ให้สามารถซ่อนตู้ หรือลิ้นชักเก็บของได้ โดยออกแบบหน้าบานต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับผนังห้อง เป็นต้น

ไอเดียบ้านสไตล์มินิมอล บ้านชั้นเดียว

แบบที่ 1 บ้านสไตล์มินิมอลแบบญี่ปุ่น

บ้านชั้นเดียว มินิมอล

นิยามของบ้านสำหรับหลาย ๆ คน ยังคงเป็นสถานที่ที่รู้สึกได้ว่าเข้าไปแล้วปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม อบอุ่น และใช้ชีวิตได้แบบที่ชอบ หนึ่งสไตล์บ้านที่โอบรับความรู้สึกนี้ได้อย่างดีในนาทีนี้ก็ต้องมีบ้านสไตล์มินิมอล บ้านอารมณ์คาเฟ่ หรือบ้านสไตล์ญี่ปุ่นอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ไม่เฉพาะบ้านเดี่ยวที่สร้างเองเท่านั้น ในกลุ่มนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็เริ่มปรับตัวตามกระแสตลาดออกแบบบ้านจัดสรรในสไตล์นี้กันมากขึ้น เช่นเดียวกับบ้าน•ใบ•ไม้ บ้านน่ารักที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตที่เรียบง่ายในสไตล์ญี่ปุ่น ที่เห็นเพียงครั้งเดียวก็อุ่นไปถึงหัวใจ

บ้านชั้นเดียว หลังคาจั่วหลังนี้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดีไซน์บ้านได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านชนบทในญี่ปุ่น สะดุดตาที่หลังคาจั่วองศาไมาสูงมุงคอนกรีตลอนสีเทา ตัดเส้นสายตาด้วยสีไม้ เจ้าของโครงการมีความตั้งใจว่าอยากทำบ้านที่คนทุกๆ วัยได้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนหรือขยายเพิ่มเติม คอนเซปต์หลักสำหรับการออกแบบแปลน คือ เป็นบ้านที่มีดีไซน์เรียบง่ายธรรมดาแต่ดูดี ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลงตัวในสไตล์ Minimal ที่สบาย โปร่ง โล่ง พื้นภายในบ้านมีระดับเดียวกันทั้งหมด เพื่อรองรับผู้ที่ต้องใช้รถเข็น และประตูทุกบานมีขนาดใหญ่พิเศษความกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร

แค่บ้านสีขาวที่ตัดด้วยงานไม้ก็ให้ความรู้สึกอุ่นใจแบบบ้านในญี่ปุ่นแล้ว ในรายละเอียดปลีกย่อยก็เติมไปด้วยแรงบันดาลใจจากงานสถาปัตย์แบบญี่ปุ่น อาทิ ชายคาที่ยื่นออกจากตัวบ้านไม่มากนัก (ประมาณ 60 เซนติเมตร) กรอบหน้าต่างไม้ระแนงบานเลื่อน ฝ้าชายคาที่ใช้วัสดุลายไม้ทาทับด้วยสีย้อมไม้ไฟเบอร์ซิเมนต์ สีไม้สัก เพิ่มความเด่นชัดของตัวบ้านขึ้นมาทันที ประตูหน้าต่างไม้ระแนงเลื่อนเปิดและปิดได้ ทำหน้าที่เป็นเสมือนผนังชั้นนอกเมื่อเปิดประตูบานเลื่อนรับลม ช่วยบล็อกเรื่องสายตาบุคคลภายนอกที่รบกวนและยังรับแสงธรรมชาติได้

บ้านชั้นเดียว มินิมอล
สวนญี่ปุ่น” ไปไม่ได้ ซึ่งจะขึ้นชื่อในเรื่องของความเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสงบ และมีความเป็นศิลปะสูง แม้จะมีส่วนประกอบไม่กี่อย่าง

แน่นอนว่าบ้านญี่ปุ่นย่อมขาด“สวนญี่ปุ่น” ไปไม่ได้ ซึ่งจะขึ้นชื่อในเรื่องของความเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสงบ และมีความเป็นศิลปะสูง แม้จะมีส่วนประกอบไม่กี่อย่าง โดยเฉพาะสไตล์ zen ที่จะใช้กรวด หิน ต้นไม้หลัก และอ่างน้ำเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวนหินกรวดสีขาววาดเป็นรูปคลื่น หรือการเลือกใช้ต้นไม้ที่มีรูปทรงเฉพาะตัว จึงมีเอกลักษณ์ต่างจากสวนแบบอื่นอย่างชัดเจน สำหรับบ้านนี้ก็จัดง่าย ๆ มีกรวด แผ่นหินปูทางเดิน และต้นไม้ทรงสวย เท่านี้ก็พอนำเสนอบรรยากาศสวนญี่ปุ่นได้แล้ว

เอ็งกาวะ (Engawa) เป็นชื่อเรียกเฉลียงไม้ที่ยื่นออกมาด้านนอกตัวบ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ สมาชิกในบ้านสามารถใช้เวลาวางออกมาใช้เวลาผ่อนคลายไปกับการนั่งอ่านหนังสือ ดื่มกาแฟถ้วยโปรดพร้อมชมสวน หรือเปลี่ยนบรรยากาศออกมาทานข้าวในวันที่อากาศเป็นใจ ชมท้องฟ้ายามค่ำคืนก่อนเข้านอนก็แสนจะโรแมนติก

บ้านสไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่ จะมีจุดเน้นสำคัญ ๆ เป็นหลักไม่กี่อย่าง บ้านหรู หากจับจุดได้ถูกก็จะสร้างบรรยากาศแบบแจแปนได้ง่ายๆ อาทิ การเลือกใช้ไม้เป็นส่วนประกอบของตัวบ้าน เช่น พื้นบ้าน ฝ้าเพดาน และเฟอร์นิเจอร์ (หากงบประมาณน้อยอาจใช้ไม้สังเคราะห์ทาสีแทนได้) การเลือกโทนสีของบ้าน เน้นใช้สีเรียบๆ อย่างสีโมโนโทนอ่อนๆ เช่น สีเทา สีขาว ครีม เขียวตุ่นๆ น้ำตาล เป็นโทนสีที่ดูนวลสบายตา ให้ความผ่อนคลาย ภายนอกก็ใช้เส้นสายสะอาด เรียบง่าย ใช้ไม้สร้างกรอบสายตา พื้นที่ภายในพยายามเปิดโล่งให้มากที่สุด สร้างสเปซโล่งกว้าง ส่วนภูมิทัศน์ภายนอกก็จัดสวนแบบเซน ใส่อ่างน้ำหินและไม้ไผ่ก็เพิ่มความเป็นญี่ปุ่นได้ทันที

แบบที่ 2 บ้านชั้นเดียว ใส่ความน่ารัก ให้อยากมาพักทุกวัน

บ้านชั้นเดียว ใส่ความน่ารัก ให้อยากมาพักทุกวัน

บ้านหลังนี้มีพิกัดอยู่ที่บ้านท่ารั้ว ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ เนื้อที่ 60 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 100 ตร.ม. หน้าบ้านกว้างขวางมีสนามหญ้าเขียว ๆ และที่จอดรถได้ถึง 2 คัน ภายในประกอบด้วย 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ มีห้องน้ำในตัวทั้ง 2 ห้อง เจ้าของบ้านให้เหตุผลว่าที่เลือกที่ดินผืนนี้ เพราะบริบทที่ดินสงบเงียบเพื่อนบ้านอัธยาศัยดีทุกคน มีบ้านข้าง ๆ ที่เล่นดนตรีเพราะ ๆ ฟังได้เพลิน ๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ดังนั้นจึงรู้สึกว่าอยากสร้างบ้านที่เหมือนได้พักผ่อนทุกวัน ซึ่งสไตล์ “โมเดิร์นมินิมอล” มีสวนล้อมรอบเป็นคำตอบที่ตรงใจ

เนื่องจากเจ้าของบ้านมีพื้นฐานความรู้ในงานสถาปัตยกรรม จึงออกแบบเองและเขียนแบบเองทั้งหมด โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพแวดล้อมว่าตรงจุดไหนจะพื้นที่รับลม พื้นที่รับแสง ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงแสงและพรางสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา ด้วยการนำกล่อง Mass สี่เหลี่ยมไปตั้งดูทิศทางแสงและร่มเงา เมื่อได้องค์ประกอบการออกแบบก็เริ่มลงมือร่างแปลน ส่วนตัวเจ้าของชอบบ้านที่แนวหน้ากว้าง ทำให้เลือกออกแบบบ้านเป็นตัว L เพราะเหลือพื้นที่ที่สำหรับจัดสวนตรงกลาง และทุกด้านของบ้านก็มองเห็นสวนได้เท่า ๆ กัน บ้านสวย

ห้องกระจกหันหน้าทางทิศใต้ก็จริง

ตัวบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากแสงที่รุนแรง มีแสงสวยงามในยามเช้า จึงใส่ช่องเปิดด้านหน้าเป็นประตูไม้บานกระจกในบริเวณกว้าง ส่วนด้านข้างที่เป็นเหมือนฐานของตัว L เป็นห้องกระจกหันหน้าทางทิศใต้ก็จริง แต่มีหลังคากันสาดยื่นออกมากว้างพอที่จะช่วยไม่ให้ภายในได้รับผลกระทบจากแสง ทิศทางนี้ได้รับลมที่ดี จึงมีหน้าต่างบานเกล็ดสูงจากพื้นถึงเพดานเปิดให้ลมเข้าไปเติมความสบายในบ้านได้มาก

เมื่อเข้ามาภายในบ้านจะพบกับความโปร่งโล่งจากการจัดแปลนแบบ open paln โดยจัดให้โถงนั่งเล่นใช้ space เดียวกันกับโต๊ะทานอาหาร และครัวไซส์เล็ก ๆ ที่อยู่ถัดไปทางด้านหลัง เพื่อให้คนในบ้านมีกิจกรรมอยู่ด้วยกันแบบไม่รู้สึกอึดอัดหรือคับแคบ ตัวโถงหลักนี้จะเปิดให้ลมเข้า 2 ได้ทิศทาง ทำให้ลมพัดผ่านตลอดเวลาบ้านจึงเย็นสบาย อยู่ง่ายๆ ไม่ร้อน

การตกแต่งบ้านจะมีความรู้สึกผสมผสานระหว่างความเป็นโมเดิร์น ด้วยฟอร์นิเจอร์สีขาวและไม้สีอ่อนๆ

สำหรับการตกแต่งบ้านจะมีความรู้สึกผสมผสานระหว่างความเป็นโมเดิร์น ด้วยฟอร์นิเจอร์สีขาวและไม้สีอ่อนๆ ดีไซน์เส้นสายเรขาคณิตโค้งมนแบบมินิมอล เน้นความรู้สึกน่ารักด้วยของแต่งบ้านกระจุกกระจิกที่ไม่มีมากเกินความจำเป็น แต่พื้นบ้านปูด้วยไม้ปาร์เก้ลายก้างปลา (Herringbone wood pattern) สีน้ำตาลเข้มที่เคยได้รับความนิยมสูงมากเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งเข้ากันได้ดีกับกรอบวงกบ ประตูหน้าต่างที่ทำจากไม้แท้ย้อมสีเข้มเช่นเดียวกัน อารมณ์แบบร่วมสมัยนี้ยังเชื่อมต่อไปยังผนังอิฐช่องลมที่เลือกลวดลายกลิ่นอายวินเทจเล็ก ๆ